ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้น
ระบบ เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)
องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ
วิธีการระบบที่ดี
จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์
เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล
วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ
ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้
ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพ/ต่ำ
1.
เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น
ๆ
2.
เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3.
เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4.
เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อยๆเพื่อสะดวกในการแก้ปัญหาอันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5.
มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6.
เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน
ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม
จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
1.
สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input
)หมายถึง สิ่งต่างๆ
ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ
เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน
อาจได้แก่ ครู
นักเรียน ชั้นเรียน
หลักสูตรตารางสอน วิธีการสอน
เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ
อาจได้แก่ จมูก
ปอด กระบังลมอากาศ
เป็นต้น
2.
กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง
การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
เช่น การสอนของครู
หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3.
ผลผลิต หรือการประเมินผล
(Output) หมายถึง
ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน
เป็นต้น ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง
การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า
ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง
ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ
( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ
( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพ
1.
ปัญหา (Identify Problem)
2.จุดมุ่งหมาย
(Objectives)
3.
ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ
(Constraints)
4.
ทางเลือก (Alternatives)
5.
การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection)
6.
การทดลองปฏิบัติ (Implementation)
7.
การประเมินผล (Evaluation)
8.
การปรับปรุงแก้ไข (Modification)

ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหา ที่ควรแก้ไข
ขั้นที่
2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น
ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด
มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึง
ความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่
3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้ว
และต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้
วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่
4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
ควรมองด้วยใจกว้างขวาง และเป็นธรรม
หลาย ๆแง่ หลายๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง
ๆ ขั้นที่
5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่
6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น
การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป
จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่
7 ขั้นการวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า
ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใด ยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง
จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข
ขั้นที่
8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่
7 ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์
หรือไม่เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข
ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ
หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป
ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
( efficiency) และมีความยั่งยืน
(sustainable) ต้องมีลักษณะ
4 ประการคือ
1.
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact
with environment )
2.
มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3.
มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4.
มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction
)
ระบบทุก
ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆตัวของระบบโลกรอบๆตัวนี้ เรียกว่า
"สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น
ระบบเปิด ( Open
system ) กล่าวคือ
ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม
ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร
ข้อมูล ฯลฯระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต
( output )แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง
มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง
ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า
"เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง
มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)ลักษณะที่สามของระบบ
คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอการรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง
ๆของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง
ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์
ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย
ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ
เช่น ปาก น้ำย่อย
น้ำดี หลอก อาหาร
กระเพาะอาหาร ฯลฯ
มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction
)ลักษณะที่ดีของระบบ คือ
มีการแก้ไขและปรับตัวเอง ในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมบางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเอง
ต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเองเสียใหม่ตัวอย่างเช่น
การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว (สภาพแวดล้อม)
อาจจะทำให้เกิดอาการหวัดขึ้นได้ ในสถานการณ์นี้
ถ้าระบบร่างกายไม่สามารถที่จะรักษาสภาพตัวเองได้อย่างดี
ร่างานก็จะต้องสามารถที่จะปรับตัวเองเพื่อที่จะต่อสู้กับอาการหวัดนั้นโดยการผลิตภูมิคุ้มกันออกมาต้านหวัด
ระบบเปิด
( Open System ) คือ
ระบบที่รับปัจจัยนำเข้า จากสิ่งแวดล้อม
และขณะเดียวกันก็ส่งผลผลิต กลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างระบบเปิดทั่ว ๆ
ไป เช่น ะบบสังคม
ระบบการศึกษา ระบบหายใจ
ฯลฯ
ระบบปิด ( Close
System ) ระบบที่มิได้รับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อม หรือรับปัจจัยนำเข้าจากสิ่งแวดล้อมน้อยมาก
แต่ขณะเดียวกันระบบปิดจะผลิดเอาท์พุทให้กับสิ่งแวดล้อมด้วย
เช่น ระบบของถ่านไฟฉาย หรือระบบแบตเตอรี่ต่าง ๆ ตัวถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่นั้นถูกสร้างขึ้นมาให้มีไฟฟ้าสะสมอยู่ในตัวภายในก็มีระบบย่อยอีกหลายระบบ
ที่ทำงานสัมพันธ์กันอย่างดี
นสามารถให้พลังงานไฟฟ้าออกมาได้โดยที่ไม่ได้รับปัจจัยภายนอกเข้ามาเลย
ระบบปิดจะมีอายุสั้นกว่าระบบเปิดเนื่องจากระบบปิดนั้นทำหน้าที่เพียงแต่เป็น
"ผู้ให้" เท่านั้น
ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.
การประเมินความจำเป็น
2.
การเลือกทางแก้ปัญหา
3.
การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน
4.
การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย
5.
การเลือกยุทธศาสตร์การสอน
6.
การลำดับขั้นตอนของการสอน
7.
การเลือกสื่อ
8.
การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น
9.
การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น
10.
การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ
11.
การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น